เลือกหลังคาเมทัลชีทอย่างไร ให้เหมาะกับคุณ?
371 ผู้เข้าชม
บ้านสวยสมัยใหม่นิยมใช้หลังคาเมทัลชีทกัน อย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่ผู้ใช้งานส่วนมากอาจไม่รู้ว่าเมทัลชีทที่นำมาใช้มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ และหากเรามองข้ามใจความสำคัญเหล่านี้ไป ก็อาจเป็นสาเหตุให้อาคารที่สร้างขึ้นมีปัญหาชวนปวดหัวยุ่งยากอีกมากมาย
หลังคาเมทัลชีทที่ดี ต้องมีมากกว่าความสวย เรามีคำแนะนำในการเลือกซื้อหลังคาเมทัลชีทอย่างง่ายๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านที่กำลังจะก่อสร้างหรือต่อเติมอาคาร ด้วยการเลือกใช้เมทัลชีทเพื่อตกแต่งผนังและหลังคา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเป็นที่พึงพอใจ และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการอยู่อาศัยอย่างสบายใจไร้กังวล มาแนะนำครับ
การพิจารณาเลือกซื้อหลังคาเมทัลชีท
วัสดุมุงหลังคาประเภทเมทัลชีท เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์รสนิยมผู้ที่ชื่นชอบความทันสมัยได้ดี เพราะมีสีสันสวยงาม น้ำหนักเบา และสามารถติดตั้งได้ง่ายดายภายใต้ราคาที่จับต้องได้ ซึ่งองค์ประกอบหลักที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อเมทัลชีท มีดังต่อไปนี้
วัสดุมุงหลังคาประเภทเมทัลชีท เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์รสนิยมผู้ที่ชื่นชอบความทันสมัยได้ดี เพราะมีสีสันสวยงาม น้ำหนักเบา และสามารถติดตั้งได้ง่ายดายภายใต้ราคาที่จับต้องได้ ซึ่งองค์ประกอบหลักที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อเมทัลชีท มีดังต่อไปนี้
ความหนารวมชั้นเคลือบ
เมทัลชีทควรเลือกความหนาให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน โดยทั่วไปจะกำหนดความหนาแผ่นเมทัลชีทเป็นความหนารวมเคลือบทั้งหมดเพื่อให้ง่ายในการจดจำ (งานประเภทไหน ใช้ความหนาเท่าไหร่สามารถดูได้จากตารางด้านล่างครับ)
เมทัลชีทควรเลือกความหนาให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน โดยทั่วไปจะกำหนดความหนาแผ่นเมทัลชีทเป็นความหนารวมเคลือบทั้งหมดเพื่อให้ง่ายในการจดจำ (งานประเภทไหน ใช้ความหนาเท่าไหร่สามารถดูได้จากตารางด้านล่างครับ)
ความแข็งแรงของแผ่นเมทัลชีท
ปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 เกรดคือ G550 (Hi Tensile) และ G300 (Commercial Grade) แนะนำให้เลือกใช้ G550 เพราะมีความแข็งแรงกว่า G300 (ยกเว้นงานเฉพาะบางประเภทที่ระบุว่าต้องใช้ G300)
ชั้นเคลือบโลหะควรเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.
มาตรฐาน มอก. ของประเทศไทยได้กำหนดไว้ว่า ปริมาณมวลสารเคลือบสังกะสีผสมอลูมิเนียม (Zinc/Aluminium) ต้องไม่ต่ำกว่า AZ70 (70 กรัม/ตร.ม.) ค่าตัวเลขหลัง AZ จะบอกปริมาณสารเคลือบกันสนิมที่ใช้ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. (อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้ค่านี้ต่ำกว่า AZ70 เพราะจะทำให้ไม่สามารถทนทานการกัดกร่อนได้เท่าที่ควร และจะส่งผลให้หลังคาเมทัลชีทของท่านเป็นสนิมได้อย่างรวดเร็ว)
มาตรฐาน มอก. ของประเทศไทยได้กำหนดไว้ว่า ปริมาณมวลสารเคลือบสังกะสีผสมอลูมิเนียม (Zinc/Aluminium) ต้องไม่ต่ำกว่า AZ70 (70 กรัม/ตร.ม.) ค่าตัวเลขหลัง AZ จะบอกปริมาณสารเคลือบกันสนิมที่ใช้ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. (อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้ค่านี้ต่ำกว่า AZ70 เพราะจะทำให้ไม่สามารถทนทานการกัดกร่อนได้เท่าที่ควร และจะส่งผลให้หลังคาเมทัลชีทของท่านเป็นสนิมได้อย่างรวดเร็ว)
ชั้นเคลือบสี มีผลต่อความสวยงาม
ชั้นเคลือบสีที่ได้มาตรฐานจะต้องผ่านการรับรองด้วย มอก.2753 อาคารจะสวยทนยาวนานหรือไม่ก็อยู่ที่ตรงนี้ครับ
มีมาตรฐานการผลิตที่น่าเชื่อถือรับรอง
ในประเทศไทยจะมีมาตรฐานการผลิตที่ใช้กับหลังคาเมทัลชีท คือ มอก.2228 สำหรับเมทัลชีทไม่เคลือบสีและ มอก.2753 สำหรับเมทัลชีทเคลือบสี เมทัลชีทที่ได้คุณภาพจะต้องผ่านการรับรองมาตฐานดังกล่าวเสมอ ท่านสามารถสอบถามทางโรงงานรีดแผ่นหลังคาเมทัลชีทได้ครับ
ในประเทศไทยจะมีมาตรฐานการผลิตที่ใช้กับหลังคาเมทัลชีท คือ มอก.2228 สำหรับเมทัลชีทไม่เคลือบสีและ มอก.2753 สำหรับเมทัลชีทเคลือบสี เมทัลชีทที่ได้คุณภาพจะต้องผ่านการรับรองมาตฐานดังกล่าวเสมอ ท่านสามารถสอบถามทางโรงงานรีดแผ่นหลังคาเมทัลชีทได้ครับ
ตารางสรุปการเลือกใช้งานเมทัลชีท
ในประเทศไทยจะมีมาตรฐานการผลิตที่ใช้กับหลังคาเมทัลชีท คือ มอก.2228 สำหรับเมทัลชีทไม่เคลือบสีและ มอก.2753 สำหรับเมทัลชีทเคลือบสี เมทัลชีทที่ได้คุณภาพจะต้องผ่านการรับรอง
มาตฐานดังกล่าวเสมอ ท่านสามารถสอบถามทางโรงงานรีดแผ่นหลังคาเมทัลชีทได้ครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับบางประการที่ถูกมองข้ามจนเป็นสาเหตุให้เเมทัลชีทมีอายุการใช้งานลดลง
จนบางครั้งอาจทำให้หลังคาเมทัลชีทเป็นสนิมโดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อน
ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสีหลังจากขึ้นรูปเป็นเมทัลชีท จะมีความสามารถในการต้านทาน การกัดกร่อนจากสภาพอากาศทั่วไปได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้การจัดเก็บที่ถูกต้องก่อนการนำไปใช้งานก็เป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นอีกหนึ่งเงือนไขในการรับประกันคุณภาพ