แชร์

หลังคาร้อน และเสียงดัง ฟังทางนี้

703 ผู้เข้าชม
เมทัลชีทแบบไหน ใช้แล้วไม่ร้อน เสียงไม่ดัง ท่านอาจจะสงสัยว่าเป็นไปได้ไหมที่เมทัลชีทจะไม่ร้อนและไม่ส่งเสียงดังให้เป็นที่รำคาญใจ หลายท่านที่เคยใช้หลังคาเมทัลชีทก็คงจะมีประสบการณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า เมื่อเราใช้เมทัลชีทแผ่นเปล่าไปติดตั้งอาคาร ความร้อนที่วิ่งผ่านลงมากระทบผิวสัมผัสจะมีมาก ทำให้รู้สึกได้ถึงไอความร้อน
 
ทั้งนี้ ไม่เพียงแค่ "ความร้อน" เท่านั้นที่เป็น ความท้าทายให้กับผู้ใช้งาน หลังคาเมทัลชีท "เสียงดัง" ก็เป็นอีกเรื่อง
ที่ต้องนำมาพิจารณา
 เมทัลชีทที่ใช้มักจะส่งเสียงดังเมื่อโดนความร้อน และจะดังเป็นพิเศษเมื่อกระทบกับเม็ดฝน สาเหตุเรื่องเสียงดังนี้เป็นเพราะคุณสมบัติติดตัวของเมทัลชีททั่วโลกที่ทำจากเหล็กเป็นพื้นฐาน เมทัลชีทจะดูดและคายความร้อนได้ดีกว่ากระเบื้อง ทำให้เกิดการขยายและหดตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างวัน เมื่อเกิดการเปลี่ยแปลงอุณหภูมิย่อมทำให้เกิดการดีดตัวจึงทำให้เกิดเสียงดังทั้งกลางวันและกลางคืน แต่กลางวันจะอาการหนักกว่าเพราะมีการเปลี่ยนแปลอุณหภูมิมากกว่ากลางคืน 
 
ไม่ว่าเมทัลชีทจะหนาหรือบาง ความสามารถในการดูดและคายความร้อนก็ยังคงอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง 

วิธีที่จะทำให้เมทัลชีทลดความร้อนและลดเสียงดังน่ารำคาญลง สามารถทำได้ 2 วิธีคือ

ใช้เมทัลชีทเคลือบสี
 
เมทัลชีทแบบธรรมดาจะมีอุณหภูมิใต้แผ่นสูงกว่าเมทัลชีทเคลือบสี เนื่องจากสีที่เคลือบแผ่นเมทัลชีท นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังทำหน้าที่เหมือนแผ่นฟิลม์ที่เคลือบไม่ให้แผ่นเหล็กโดนความร้อนจากดวงอาทิตย์โดยตรง

วิธีนี้พอจะช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้เล็กน้อย แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องเสียงได้
 
 
ติดฉนวนกันความร้อน

การติดฉนวนกันความร้อน ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ความร้อนและเสียงจะถูกซับไว้ที่ฉนวน ทำให้การส่งผ่านอุณหภูมิใต้หลังคาลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
 
ทั้งนี้ ในปัจจุบันยังไม่มีเมทัลชีทชนิดไหนที่สามารถป้องกันความร้อนและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 100%
เพราะคนเราจะรู้สึกสบายตัวเมื่ออุณหภูมิอยู่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 40% RH - 60% RH และจะเริ่มรู้สึกร้อนเมื่ออุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 40% RH หรือเมื่อมีอุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 60% RH แต่อุณหภูมิใต้แผ่นเมทัลชีทแบบไม่หุ้มฉนวนจะสูงกว่านั้น การใช้เมทัลชีทร่วมกับฉนวนจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในขณะนี้
 


แล้วควรจะเลือกฉนวนแบบไหนดี ? ขอตอบว่าขึ้นอยู่กับการใช้งาน
ถ้าบริเวณนั้นเป็นบริเวณพักอาศัยที่ต้องการใช้พื้นที่ในตอนกลางวันด้วย แนะนำให้ใช้ฉนวน PU (Polyurethane) ซึ่งเป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงยอดนิยมสำหรับหลังคาเมทัลชีทในปัจจุบัน เพราะมีราคาและประสิทธิภาพเหมาะสมที่สุด จะมีความหนาประมาณ 16, 20, 25 และ 50 มิลลิเมตร (นิยมใช้ 25 มิลลิเมตร)
 
 
ฉนวน PU จะมีด้วยกัน 2 เกรด คือ
1. Closed Cell ซึ่งจะมีความหนาแน่นและความแข็งแรงสูง
2. Opened Cell จะมีความหนาแน่นและความแข็งแรงน้อยกว่า แต่ราคาจะถูกกว่าแบบแรก
(ท่านสามารถสอบถามข้อมูลได้จากโรงรีดแผ่นเมทัลชีทโดยตรง)

แต่ถ้าบริเวณนั้นไม่ได้ใช้พื้นที่ตอนกลางวัน หรือมีงบประมาณจำกัด แนะนำใช้งานเป็นฉนวน PE (Polyethylene) ซึ่งเป็นฉนวนแผ่นบางที่เคยใช้งานกันอย่างแพร่หลายก่อนที่จะมีฉนวน PU ราคาก็ค่อนข้างถูกกว่าแบบแรกมาก ใช้งานร่วมกับกาวติดลงบนแผ่นเมทัลชีทเพื่อกันเสียงและความร้อน จะมีความหนา ประมาณ 3. 5. 10 มิลลิเมตร (นิยมใช้ 5 มิลลิเมตร)
 
ฉนวนประเภทนี้ สามารถใช้ในพื้นที่ใต้หลังคาที่มีฝ้าได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดงบได้อีกระดับหนึ่ง

ฉนวน PE ก็มี 2 เกรดเช่นกัน คือ
1. บุด้วย Aluminium Foil แท้ คุณภาพจะสูงกว่า ผิวเคลือบด้านล่างทำจากอลูมิเนียม และมีอายุการใช้งานยาวนาน
2. บุด้วย พลาสติกสีเงินมันวาว เป็นแบบที่เราเห็นทั่วไปตามอาคารต่าง ๆ 

ฉนวนประเภทอื่นล่ะมีไหม?
มีครับ แต่ความคุ้มค่า ราคา การใช้งาน และการจัดจำหน่ายยังค่อนข้างจำกัด เช่น ฉนวน EPS ฉนวนใยแก้ว ฉนวน ร็อควูล ฉนวนพ่นแบบเซลลูโลส เป็นต้น


หลังคาเมทัลชีทที่ดี เมื่อใช้กับฉนวนกันความร้อน และกันเสียงที่เหมาะสมจะทำให้บ้านของ
คุณสวยงาม เงียบ เย็นสบายน่าอยู่ สมกับเป็นบ้านในฝันอย่างแน่นอน


 
 
 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง
9 เคล็ดลับ ยืดอายุหลังคาเมทัลชีทให้อยู่ทนทานนานหลายสิบปี
เคล็ดลับบางประการที่ถูกมองข้ามจนเป็นสาเหตุให้เเมทัลชีทมีอายุการใช้งานลดลง จนบางครั้งอาจทำให้หลังคาเมทัลชีทเป็นสนิมโดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อน
8 ขั้นตอนการจัดเก็บแผ่นเมทัลชีทก่อนติดตั้ง เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสีหลังจากขึ้นรูปเป็นเมทัลชีท จะมีความสามารถในการต้านทาน การกัดกร่อนจากสภาพอากาศทั่วไปได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้การจัดเก็บที่ถูกต้องก่อนการนำไปใช้งานก็เป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นอีกหนึ่งเงือนไขในการรับประกันคุณภาพ
เมทัลชีททำไมถึงกันสนิมได้ ?
ทำความเข้าใจกลไกการป้องกันสนิม ของเมทัลชีทอย่างง่ายๆ ภายใน 2 นาที
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy